สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 3-9 กรกฎาคม 2566

 

ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.375 ล้านไร่ ผลผลิต 25.761 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ที่มี
เนื้อที่เพาะปลูก 62.977 ล้านไร่ ผลผลิต 26.632 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 423 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 0.96 ร้อยละ 3.27 และร้อยละ 2.36 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ฝนมาล่าช้า และคาดว่าปริมาณฝนจะน้อยกว่าปี 2565 โดยในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2566
จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่งผลให้เกษตรกรบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยจากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโต
ได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงพบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น ไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยังคงมีราคาสูง เกษตรกรจึงปรับลดปริมาณการใช้ ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.610 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.48 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนกรกฎาคม 2566 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 0.038 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.15 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2566 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.888 ล้านไร่ ผลผลิต 7.722 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 650 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.547 ล้านไร่ ผลผลิต 6.171 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 646 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.51 ร้อยละ 25.14 และร้อยละ 0.62 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
มีมากกว่าปี 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงเดือนกันยายน 2565 มีพายุโนรูเข้าประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนัก และปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าปกติ รวมทั้งราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก และการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2566 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2566 ปริมาณรวม 4.728 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 61.23 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 7.659 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 99.18 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,938 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,882 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.40
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,083 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,022 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,790 บาท ราคาลดลงจากตันละ 30,850 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.19
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,870 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,690 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.08
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 869 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,273 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น
จากตันละ 855 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,061 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.64 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 212 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 535 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,638 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 518 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,212 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.28 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 426 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 532 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,533 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 518 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,212 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.70 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 321 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.8367 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

2.1 เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวปรับสูงขึ้นถึงระดับสูงสุดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 จากภาวะอุปทานข้าวในประเทศตึงตัว เนื่องจากผู้ส่งออกต่างเร่งหาซื้อข้าวเพื่อเตรียมส่งมอบให้ผู้ซื้อตามสัญญาที่ยังคงค้างการส่งมอบ
ขณะที่ผู้ซื้อต่างประเทศเร่งนําเข้าข้าวเพื่อสํารองไว้สำหรับความมั่นคงด้านอาหาร ส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศปรับสูงขึ้น และทำให้ราคาส่งออกปรับสูงขึ้นตาม โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 500-510 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 17,418-
17,767 บาท) สูงขึ้นจากตันละ 495-505 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 17,244-17,593 บาท) ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2566
ด้านวงการค้าต่างแสดงความกังวลว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญที่คาดว่าจะเกิดในปี 2566 จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าว
ในฤดูการผลิตฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง (the summer-autumn crop) มากกว่าที่คาดการณ์ไว้
สำนักข่าว Bloomberg รายงานโดยอ้างข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (General Statistics Office) ว่า
การส่งออกข้าวของเวียดนามในเดือนมิถุนายน 2566 มีประมาณ 650,000 ตัน และในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม-มิถุนายน) คาดว่าเวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 4.27 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่รายได้จากการส่งออกข้าวอยู่ที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (80,124.41 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ = 34.8367 บาท

2.2 ฟิลิปปินส์
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า สำนักประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ระบุว่า ในช่วงครึ่งปีหลังประเทศฟิลิปปินส์
มีข้าวเพียงพอสำหรับใช้ในประเทศ ขณะที่ปลัดกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์มีข้อสังเกตว่า รัฐบาลคาดว่าจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ดีในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2566 และคาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 หรือประมาณ 8.6 ล้านตัน
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 โดยคาดว่าภายในสิ้นเดือนมิถุนายน 2566 สต็อกข้าวที่มีประมาณ 1.8 ล้านตัน
จะเพียงพอสำหรับใช้ภายในสองเดือน นอกจากนี้ มีอุปทานข้าวที่จะเพิ่มขึ้นจากการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูกาลใหม่ รวมทั้งจากการนําเข้าที่คาดว่าจะมีขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
2.3 กัมพูชา
นาย Pan Sorasak รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กัมพูชาได้หารือและจัดทำข้อตกลงพิเศษทวิภาคีกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจีน ซึ่งทำให้กัมพูชาประสบความสำเร็จในการส่งออกไปยังตลาดจีน โดยปี 2566/67 กระทรวงพาณิชย์กําลังเจรจาเพื่อการลงนาม MoU ฉบับที่ 7 จำนวน 500,000 ตัน ซึ่งมีกำหนดลงนามในระยะเวลาอันใกล้นี้
โดยหวังว่าจะช่วยเพิ่มการส่งออกข้าวของกัมพูชาให้มากขึ้น เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมข้าวเป็นภาคอุตสาหกรรมที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก โดยเน้นย้ำถึงความจําเป็นในการลงทุนจำนวนมาก เพื่อขยายตลาดข้าวสารของกัมพูชาในต่างประเทศ
รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประชุมสุดยอดผู้นําอาเซียนที่อินโดนีเซียครั้งที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีของกัมพูชาได้ขอให้ประเทศต่างๆ รวมทั้งฟิลิปปินส์ ซื้อข้าวสารจากกัมพูชา รวมทั้งขอให้นิวซีแลนด์
ลงทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับภาคอุตสาหกรรมข้าว คลังสินค้า โรงอบแห้ง และการแปรรูปเพิ่มเติมในกัมพูชา เพื่อขยายการส่งออกข้าวสารไปยังตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ การเจรจาสัญญาส่งออกข้าวสาร
เป็นการหารือที่ซับซ้อนเกี่ยวกับเงื่อนไขและราคา อย่างไรก็ตาม กัมพูชามีแผนการที่จะสํารวจตลาดเพิ่มเติม โดยชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของสิงคโปร์ในการเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าที่สำคัญสำหรับเอเชียตะวันออกกลาง และภูมิภาคอื่นๆ นอกจากนี้ รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ยังได้กล่าวชื่นชมสหพันธ์ข้าวกัมพูชาที่ทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เป็นอย่างดี โดยเฉพาะบริษัท Green Trade จนนําไปสู่การเปิดตลาดข้าวในฟิลิปปินส์ และขอให้ดำเนินกิจกรรมนี้ต่อไปกับ
ประเทศอื่นๆ ด้วย
 
ทางด้าน นางมาเรีย อเมลลิตา อควิโน เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ประจำกัมพูชา กล่าวชื่นชมการเติบโตทางการค้าข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกข้าวกัมพูชาไปยังตลาดฟิลิปปินส์ที่ริเริ่มโดยกลุ่มบริษัทอาหารเขมรและผู้นําเข้าฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นต้นแบบในการแสดงศักยภาพของข้าวกัมพูชาให้ผู้นําเข้ารายอื่นสั่งซื้อข้าวจากกัมพูชา
ขณะที่ นาย Chan Sokheang ประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (Cambodian Rice Federation: CRF) กล่าวชื่นชมกระทรวงพาณิชย์ และความคืบหน้าของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา ซึ่งปัจจุบันกัมพูชามีโควตาส่งออกข้าวไปยังตลาดจีน จำนวน 400,000 ตัน โดยกำหนดเป้าหมายส่งออกให้ครบ 1 ล้านตัน ภายในปี 2568 ดังนั้น สหพันธ์ข้าวกัมพูชาจึงเริ่มวางแผนกลยุทธ์อย่างจริงจัง โดยในเดือนตุลาคม 2566 จะมีการจัดงานที่เมืองโคโลญจน์ ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในงานแสดงอาหารชั้นนําของโลก อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 บริษัท Khmer Food Group สามารถส่งออกข้าวสาร จำนวน 2,575 ตัน ไปยังตลาดฟิลิปปินส์ ซึ่งถือเป็นการเปิดตลาดส่งออกข้าวครั้งสำคัญ โดยการผลักดันของกลุ่มผู้ผลิตอาหารของกัมพูชา และความพยายามของรัฐบาลที่หาตลาดสำหรับข้าวกัมพูชา
นอกจากนี้ นาย Chan Pich ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท Signatures of Asia ได้สนับสนุนแผนการขยายการส่งออก โดยเน้นย้ำถึงความแข็งแกร่งของตลาดจีนที่มีการซื้อข้าวสารจากกัมพูชาเพิ่มขึ้น
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.76 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.49 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.29 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.21
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.48 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.64 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 353.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,290.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 360.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,650.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.94 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 360.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 558.00 เซนต์ (7,747.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 597.00 เซนต์ (8,363.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.53 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 616.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566)คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนกรกฎาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.501 ล้านตัน (ร้อยละ 1.53 ของผลผลิตทั้งหมด) ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (ร้อยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง และเชื้อแป้งมีคุณภาพลดลง สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังทยอยเปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.72 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.76 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.45
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.87 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.58
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.32 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 8.32 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.46 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.22
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 262.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,230 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 262.50 ดอลลาร์สหรัฐ (9,280 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,780 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวที่ตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,880 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน


 


ปาล์มน้ำมัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
         - Czarnikow รายงานว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคมโรงงานน้ำตาลในประเทศจีน ขายน้ำตาลได้1.1 ล้านตัน สูงสุดในรอบ 10 ปี ซึ่งอาจจะเป็นเพราะขณะนี้ผู้ค้ายอมรับกับราคาน้ำตาลที่สูง และ ตัดสินใจที่จะเพิ่มน้ำตาลเข้าสู่สต็อก อย่างไรก็ตาม ความต้องการน้ำตาลภายในประเทศของจีนยังคงไม่ชัดเจน ท่ามกลางการฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากวิกฤตโควิด และการแข่งขันจากสารให้ความหวานทางเลือก
         - สมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดีย (ISMA) รายงานว่า การตัดสินใจที่จะปรับขึ้นราคาอ้อยที่เป็นธรรม       และราคาอ้อยขั้นต่ำ (FRP) ในปี 2566/2567 เพิ่มอีก 10 รูปีอินเดีย/100 กิโลกรัม (1.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน) เป็น 315 รูปีอินเดีย/100 กิโลกรัม (38.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน) จะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น 4 % ส่งผลให้สมาคมโรงงานน้ำตาลอินเดีย (ISMA) เรียกร้องให้มีการขึ้นราคาน้ำตาลและเอทานอลด้วย ด้านสหพันธ์ชาวไร่อ้อยอินเดีย (AISFF) เรียกร้องให้ชาวไร่อ้อยรวมตัวประท้วงในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ เพื่อผลักดันให้มีราคาอ้อยขั้นต่ำ (FRP) ที่สูงขึ้น


 


 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,530.05 เซนต์ (19.70 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,501.44 เซนต์ (19.33 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.91
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 415.4 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.56 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 409.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.34 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.52
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 67.02 เซนต์ (51.76 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 61.10 เซนต์ (47.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9.69


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

 

 
ถั่วลิสง

 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,912 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,926 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.73 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,401 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,393 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.57 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณเพิ่มขึ้น แนวโน้มการบริโภคลดลง สัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  76.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 78.62 คิดเป็นร้อยละ 2.59 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 82.09 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 75.03 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.78 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.02 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 73.50 คิดเป็นร้อยละ 5.71 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.07 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.65 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 354  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 355 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.28 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 363 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.12 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 395 ลดลงจากร้อยฟองละ 398 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.75 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 405 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 405 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 381 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 416 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 453 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 445 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.80

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 91.36 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 91.63 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100. 27 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 87.72 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.60 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 71.56 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.08 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.68 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.72 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
 
 
 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 3 - 9 กรกฎาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ  
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 63.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.10 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.01 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 78.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.25 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 114.23 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 115.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.16 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.26 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.90 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.36 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.25 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.25 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.06 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา